SUM M.5 T.1 Flashcards
(92 cards)
แผนที่โลกแผนที่แรก (เท่าที่พบและยอมรับในปัจจุบันเป็นวงกว้าง) ที่วาดขึ้นโดยมีคำอธิบายเป็นตัวอักษรประกอบคือแผนที่โลกของชาว, อักษร อะไร
บาบิโลน, คูนิฟอร์ม
แผนที่โลกของชาวกรีกเป็นแผนที่โลกฉบับแรกๆที่วาดโดยมีการเก็บข้อมูลอย่างไร
เป็นวิทยาศาสตร์
อีราโตสเตนีส ได้ชื่อว่าเป็น / เพราะเหตุใด
The First Geographer หรือบิดาแห่งวิชาภูมิศาสตร์ / เพราะเขาเป็นคนประดิษฐ์คำว่า Geography
อีราโตสเตนีสเป็นชาวกรีก แผนที่ของเขามีเอกลักษณ์คือ วาดขึ้นจากข้อมูลที่สืบเสาะและบันทึกไว้ วาดทวีปได้ทั้งหมด 3 ทวีป คือ
ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย
แผนที่ของอีราโตสเตนีสมีการใช้อะไร
เส้นสมมติ เรียกว่าเส้นขนานและเส้นเมริเดียน
อีราโตสเตนีสมีผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
การคิดคำนวณหาเส้นรอบวงของทรงกลมโลกได้สำเร็จเป็นคน
แรก (แม้จะคลาดเคลื่อนอยู่)
แผนที่ของปโตเลมี นักปรัชญาและนักเรขาคณิตชาวกรีกที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง วาดโลกในรูปแบบที่ละเอียดขึ้นมาจากของอีราโตสเตนีส และได้ใช้
“เส้นโครงแผนที่ทรงกรวย” ในการสร้างแผนที่ แสดงให้เห็นว่าชาวกรีกมีความเข้าใจว่าโลกเป็นวัตถุสามมิติ ทรงกลมมาตั้งแต่โบราณ
การวาดแผนที่ในสยามไม่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุคสุโขทัย อยุธยา ใช้การบันทึกเป็นข้อความในจารึกถึงรูปร่างหน้าตาของดินแดนต่างๆมากกว่าการวาดแผนที่ ภาพวาดแผนที่ หรือแผนผังเมืองอยุธยาหรือราชธานีโบราณ โดยมากเป็น
ผลงานของชาวตะวันตก
การจัดทำแผนที่ฉบับทางการของไทย เริ่มในสมัยรัชกาลใด / โดยทรงว่าจ้างใครมาเป็นผู้วาดแผนที่ / แล้วเรียกว่าอะไร / เพราะเหตุใดต้องสร้าง
เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยทรงว่าจ้าง “นายเจมส์ แมคคาร์ที” มาเป็นผู้วาดแผนที่
เรียกว่าแผนที่ประเทศไทยหรือแผนที่สยามฉบับแมคคาร์ที
เพราะเหตุผลด้านการเมือง = การปักปันอาณาเขตของสยามกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่ง
ปัจจุบันการทำแผนที่ฉบับทางการของประเทศไทย เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด / เพราะเหตุใด
“กรมแผนที่ทหาร” หรือ Royal Thai Survey
Department : RTSD สังกัดกระทรวงกลาโหม
เพราะประเทศไทยยังคงมองว่า การปักปันอาณาเขตและจัดทำแผนที่เป็น
เรื่องเดียวกัน และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
แผนที่แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏในแผนที่
แบบแบนราบ : เห็นข้อมูลต่างๆแต่ไม่เห็นลักษณะภูมิประเทศ
แบบภูมิประเทศ : เห็นภูมิประเทศต่างๆ
แบบภาพถ่าย : นำภาพจริงจากดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศมาใส่ข้อมูลให้เป็นแผนที่
แผนที่แบ่งตามมาตราส่วน (ภูมิศาสตร์)
แผนที่แบ่งตามมาตราส่วน (กิจการทหาร)
1: 1,000,000 เป็นต้นไป เรียกว่ามาตราส่วนขนาดเล็ก
1: 250,000 – 1,000,000 เรียกว่ามาตราส่วนขนาดกลาง
1: 250,000 ลงมา เรียกว่ามาตราส่วนขนาดใหญ่
1: 600,000 เป็นต้นไป เรียกว่ามาตราส่วนขนาดเล็ก
1: 75,000 – 600,000 เรียกว่ามาตราส่วนขนาดกลาง
1: 75,000 ลงมา เรียกว่ามาตราส่วนขนาดใหญ่
แผนที่แบ่งตามการนำไปใช้งาน หรือแผนที่เฉพาะเรื่อง
สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ หนึ่งแผนที่ หนึ่งเรื่อง เช่น
* แผนที่รัฐกิจ ใช้บอกอาณาเขต ดินแดน
* แผนที่การใช้ที่ดิน ใช้บอกโซนการใช้ประโยชน์ที่ดินโซนต่างๆในเมือง
* แผนที่ประวัติศาสตร์ ใช้อธิบายที่ตั้งของดินแดนต่างๆในอดีตของพื้นที่หนึ่งๆ
แผนที่มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน
ส่วนในขอบระวาง กับส่วนนอกขอบระวาง
ส่วนในขอบระวาง ก็คือตัวแผนที่ ที่มีชื่อสถานที่ต่างๆ สัญลักษณ์ สี เส้น ฯลฯ
ส่วนนอกขอบระวาง ก็คือข้อมูลประกอบแผนที่ ที่เขียนอยู่ในรอบของตัวแผนที่
องค์ประกอบด้านบนสุด นอกขอบระวางของแผนที่ เรียกว่า “ระบบการระบุระวางแผนที่” ประกอบไปด้วย
ชื่อชุดและมาตราส่วน : ประเทศไทย THAILAND 1:50,000
ชื่อระวาง (ชื่อของแผนที่ฉบับนี้) : เช่น บ้านภูมิซรอล BAN PHUM SARON
หมายเลขประจำระวาง : เช่น ระวาง 5931IV
หมายเลขประจำชุด : เช่น ลำดับชุด L7018
เลขประจำชุด L7018 คือโค้ดประจำแผนที่ของประเทศไทยที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหารในปัจจุบัน มีความหมาย คือ
L หมายถึง แผนที่นี้ เป็นแผนที่ครอบคลุมประเทศในทวีปเอเชีย คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน
ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
7 หมายถึง แผนที่นี้ใช้มาตราจัดทำ อยู่ระหว่าง 1:70,000 – 1:35,000
0 หมายถึง แผนที่นี้ เป็นแผนที่ครอบคลุมประเทศย่อย คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
18 หมายถึง ลำดั
การจัดพิมพ์ เขียนว่า 4-RTSD ก็คือ
พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยหน่วยงานจัดพิมพ์คือ Royal Thai Survey Dep.
มาตราส่วนแผนที่ ในแผนที่ส่วนใหญ่ นิยมใช้แบบ
แบบบาร์ หรือแบบแท่ง เพราะง่ายต่อการใช้งาน และเมื่อย่อหรือขยายแผนที่
มาตราส่วนแบบบาร์จะยังคงใช้ได้เสมอ ต่างจากมาตราส่วนตัวเลขหรือคำพูด หากย่อหรือขยายแผนที่จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
สัญลักษณ์สีมีอะไรบ้าง
- สีเขียว คือ ป่าไม้ ที่ราบ ที่ต่ำ
- สีน้ำเงิน คือ พื้นน้ำ ทะเล มหาสมุทร เส้นทางน้ำต่างๆ
- สีเหลือง คือ ที่สูง ที่ราบสูง
- สีส้ม สีน้ำตาล คือ ที่สูงยิ่งขึ้นไป ภูเขา เทือกเขา
- สีแดง คือ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ เส้นทางคมนาคม พื้นที่หวงห้าม
- สีดำ คือ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน เมือง
- สีม่วง คือ พื้นที่สูงอย่างยิ่ง อาทิ ยอดเขา หรือต่ำอย่างยิ่ง
- สีขาว คือ พื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ขั้วโลก น้ำตื้น พื้นที่ไม่เกี่ยวข้อง
หลักการเขียนชื่อภูมิศาสตร์ หรือชื่อสถานที่ต่างๆลงไปในแผนที่
ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ คาบสมุทรใหญ่ = ตัวใหญ่ ตรง
เมือง = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก ตรง
มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง = ตัวใหญ่ เอียง
แม่น้ำ ลำธาร อ่าวเล็ก เกาะเล็ก ช่องแคบ ทะเลทรายเล็ก ที่ลุ่ม โอเอซิส = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก เอียง
เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อก๊าซ แหล่งอารยธรรมโบราณ สิ่งก่อสร้าง = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก เอียง
เช่น ASIA THAILAND London Paris PACIFIC SAHARA Danube Yangtze
เส้นขนาน สำคัญใช้เป็นเส้นแบ่งเขตอากาศคือ
- เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
- เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
- เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้
- เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
- เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้
เทอร์โมมิเตอร์
บารอมิเตอร์
ไซโครมิเตอร์
ไฮโกรมิเตอร์
แอนิมอมิเตอร์
ศรลม วินเวน
เรนเกจ์
เข็มทิศ
เทเลสโคป
สเตอริโอสโคป
แพลนิมิเตอร์
= อุณหภูมิ
= ความกดอากาศ
= ความชื้น
= ความชื้น
= ความเร็วลม
= ทิศทางลม
= ระดับน้ำฝน
= ทิศ
= วัดระดับ แนวระนาบ
= ส่องดูภาพถ่ายทางอากาศ
= วัดระยะทางในแผนที่
โลกเกิดเทหวัตถุที่หลงเหลือจากการเกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ การเย็นตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์สืบเนื่องกัน คือ
เกิดเปลือกโลกที่เย็นตัวแล้ว เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
เปลือกโลกที่เย็นตัวคายความร้อนออกมาเป็นไอน้ำและก๊าซ ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นมาเป็นแหล่งกักเก็บความชื้น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ เกิดน้ำบนพื้นผิวของโลก
น้ำเป็นแหล่งต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
เปลือกโลก หรืออะไร / ความหนาประมาณเท่าใด
เปลือกโลก : ลิโธสเฟียร์ หนาไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ บนบกหนากว่าใต้ท้องทะเล ความหนาประมาณ 16-40 กม. (หรือบวกลบกว่านี้)
ภาคพื้นทวีป มีหิน / หนา / ความหนาแน่น
ภาคพื้นทวีป มีหิน SIAL เป็นองค์ประกอบ SIAL = Silica + Alumina หนามาก หนาแน่นน้อย